Hotel Room Deals
           
       
   
 
Disney World Vacation Packages
 
 
     
 
  ส่วนประกอบของ SLR
 
  ชัตเตอร์ (Shutter)  
  ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้ สำหรับเปิด-ปิด ทางที่แสงจะผ่านเข้าไปทำ ปฏิกิริยากับฟิล์ม  
  ตามเวลาที่กำหนดความ เร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์ก็คือเวลาที่ฉาย แสง (Exposure time) มีค่าเป็นเศษส่วน ของวินาทีดังนี้ 1/1  
  1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 และ 1/2000 วินาที เป็นต้น (ซึ่งในกล้องที่มีระบบการทำ  
  งานทันสมัย จะมีความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถละเอียดและสูงขึ้นจนถึง 1/12000 วินาทีทีเดียว) ตัวเลข เหล่านี้ มักจะแสดงไว้ที่ แป้น  
  ปรับความเร็วชัตเตอร์ โดยจะบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ ไว้เฉพาะ ตัวเลขที่เป็นส่วนของวินาที คือ1 2 4 8 15 30 60 125 250  
  500 1000 และ 2000 เป็นต้นตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ ที่มีค่าน้อยชัตเตอร์จะเปิดนานขึ้นทำให้ปริมาณแสงเข้าไปในกล้องได้มาก และ  
  หากตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ที่มีค่ามากขึ้นชัตเตอร์ก็จะเปิด-ปิดเร็ว ทำให้ปริมาณแสง เข้าไปได้น้อย เช่น หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1  
  วินาที แสงก็จะเข้าไปทำปฏิกิริยา กับฟิล์มนาน 1 วินาที และถ้าตั้งที่ 250 ชัตเตอร์ก็จะทำการเปิดให้แสงผ่านเป็นเวลา 1/250 วินาที  
  ียังมีชัตเตอร์อีกชนิดหนึ่งใชสำหรับ การถ่ายภาพที่ต้องการเปิดรับแสง เป็นเวลานาน เช่น การถ่ายภาพ ในเวลา กลางคืน หรือการแสดง  
  แสงสีเสียง และ พลุไฟ นั่นคือ ชัตเตอร์ B (Bulb) ซึ่งเมื่อกดม่านชัตเตอร์ จะทำการเปิดค้างไว้ จนกว่าจะกดชัตเตอร์อีกครั้งหนึ่งม่าน  
  ชัตเตอร์จึงจะทำการปิดลงการใช้งานชัตเตอร์ แบบนี้ต้องใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์และขา ตั้งกล้องลักษณะของชัตเตอร์ จะมีอยู่ 2 แบบ  
  โดยทั่วไปคือ ชัตเตอร์แผ่น (Leaf Shutter) หรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์(Be- tween-lens Shutter) มีลักษณะเป็นกลีบ โลหะซ้อน  
  กัน ติดตั้งอยู่ในกระบอกเลนส์จะพบได้กับ กล้องขนาดกลาง ที่ใช้ฟิล์ม ขนาด 120 มม.และกล้องแบบ Rangefinder ชัตเตอร์แบบน  
  ี้มีข้อดีคือ สามารถทำงาน สัมพันธ์ไฟแฟลช อิเล็กทรอนิกส์ ได้ทุกความเร็วชัตเตอร์  
 
  ส่วนชัตเตอร์อีกแบบคือ ชัตเตอร์ ที่ระนาบโฟกัส(Focal-plane Shutter) ชัตเตอร์แบบนี้ ตั้งอยู่ในตัวกล้อง วางไว้ทาง ด้านหน้า
 
  ของฟิล์มมีลักษณะเป็นผ้าบางๆ สีดำ ในกล้องบางรุ่นอาจทำจาก พลาสติก โลหะ หรือโลหะผสม เช่น ไททาเนี่ยม ซึ่งมีความคทนแข็ง  
  แรงมีอายุการใช้งานนาน กว่าและยังมีน้ำหนักที่เบากว่าโลหะด้วย ชัตเตอร์ที่ระนาบโฟกัสมีทั้งแบบเคลื่อนที่ใน แนวนอน และ แนวตั้ง  
  ชัตเตอร์ที่เคลื่อนที่ใน แนวนอนจะสัมพันธ์แฟลชที่ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดประมาณ 1/60 วินาที และชัตเตอร์ที่เคลื่อนที่แนวตั้งจะ  
  สัมพันธ์แฟลชทความเร็วี่ ชัตเตอร์สูงสุดประมาณ 1/250 วินาที ในปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพบางรุ่นที่มี ระบบการทำงานสูง ได้พัฒนา  
  จนสามารถ ใช้แฟลช ถ่ายภาพได้ทุกความเร็วชัตเตอร์ (สูงสุดในขณะนี้คือสัมพันธ์แฟลชความเร็ว ชัตเตอร์สูงถึง 1/12000 วินาที)  
  ซึ่งกล้องที่มี ระบบสูงๆ เหล่านี้มักจะมีอยู่ในกล้องระดับโปรหรือระดับมืออาชีพ ที่จำเป็นต้องใช้งานระบบนี้ในการทำงาน เช่นช่างภาพ  
  ข่าว ช่างภาพกีฬา และช่างภาพสัตว์ป่า เป็นต้น ช่องมองภาพ (Viewfinder)  
 
  ช่องมองภาพหรือช่องเล็งภาพ เป็นส่วนที่นักถ่ายภาพใช้มองภาพ เพื่อจัด องค์ประกอบ ภาพ ให้เป็นไปตามความต้องการทำหน้า
 
  ที่ควบคู่กับเลนส์ถ่ายภาพ ช่องมองภาพที่ดี ี จะต้องมีความใสเคลียร์มอง ในปัจจุบันมักจะเป็นกล้องใน ระดับมืออาชีพเท่านั้นที่สามารถ  
  ีมองเห็น ภาพ ในช่องมองภาพ ในช่องมองภาพ ได้ในอัตราขยายที่สามารถมองเห็น ภาพ ในช่องมองภาพ ได้ในอัตราขยาย100%  
  ช่องมองภาพของกล้องถ่ายภาพจะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป  
 
  ช่องมองภาพ มีอยู่ถึง 4 ประเภทคือ ช่องมองภาพแบบเล็งระดับ ตา, ช่องมองภาพแบบปรับระยะชัด, ช่อง มองภาพ แบบ จอปรับชัด
 
  และช่องมองภาพ แบบปริซึมห้าเหลี่ยม ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ช่องมองภาพ แบบสุดท้าย เนื่องจากเป็น ช่องมองภาพที่ใช้กันทั่วไปในกล้อง  
  35มม. SLR ช่องมองภาพแบบปริซึมห้าเหลี่ยม (The Pentaprism) เป็นช่องมอง ภาพที่รับภาพ จากเลนส์ถ่ายภาพโดยตรงภายตัว  
  กล้อง จะมีกระจกเงาราบ วางทำมุม 45 องศา ภาพจะสะท้อนผ่านแก้วปริซึมพื้นที่หน้าตัดห้าเหลี่ยม ซึ่งจะอยู่ใน ส่วนที่เรียกว่าหัวกระ  
  โหลกกล้อง ทำให้เกิดภาพที่ ช่องมองภาพตรงกับ ลักษณะที่ภาพ ตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์มไม่ว่าจะถอดเปลี่ยนเป็นถึงเลนส์ทางยาว  
  โฟกัสใดก็ตามระยะห่าง ระหว่าง เลนส์ จอรับภาพ (Focusing Screen)จะเท่ากับระยะห่างจากเลนส์ถึง ระนาบฟิล์ม ช่องมองภาพแบบ  
  นี้ จะมีความสะดวกและได้ผลตรงตามที่ตามองเห็นมากที่สุด ในกล้องถ่ายภาพรุ่นสูงๆ บางรุ่นยังมี ปุ่มปรับแก้สายตาเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหา  
  ทางสายตาใช้ปรับแก้การมองภาพ โดยปรับได้ ประมาณ -1 ถึง 3 ไดออปเตอร์ และภายในในช่องมองภาพของกล้องจะมีไฟสัญญาณ  
  LED แสดงการทำงานต่างๆ ทั้งขนาดรูรับแสงความเร็วชัตเตอร์ จำนวนภาพ ระบบ บันทึกภาพแบบต่างๆ อีกทั้งยังแสดงการ ปรับโฟกัส  
  เช่น ในกล้องแบบแมนนวลจะมี รูปไมโครปริซึมปรากฏตรงกลางจอภาพ เพื่อปรับระยะชัดส่วนในกล้องออโต้โฟกัส ที่มีระบบโฟกัสหลายจุด  
  ภายในจอภาพจะ แสดงกรอบโฟกัสหรือจุดโฟกัส ซึ่งผู้ใช้สามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ภายในช่อง มองภาพนั่นเอง  
   
   
     
     
 
 
 
Film Studio Gallery
 
:: Copyright 2003 All right reserve by www.filmshutter.cjb.net ::
1792 DD.tower room 905 Prachasongchow20 Dindang Bangkok 10400
Tel. 0-2694-2630-44 #905 Mobile.0-9123-2923 E-Mail: A_nui11@yahoo.com